อินเวอร์เตอร์ในระบบอุตสาหกรรม

อินเวอร์เตอร์ในระบบอุตสาหกรรม

ในปัจจุบัน หลายๆท่าน คงเคยที่จะได้ยิน ระบบอินเวอร์เตอร์ กันมาบ้างแล้ว โดยเฉพาะการนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องปรับอากาศ เป็นส่วนใหญ่ และในวันนี้ เราจะมาพูดถึงระบบอินเวอร์เตอร์ที่ถูกนำมาปรับใช้เพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม


ระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) คืออะไร
ระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เป็นระบบที่นำเอาความรู้ทางด้านอิเลคทรอนิกส์ที่ควบคุมการทำงานด้วยคำสั่งจาก ไมโครคอมพิวเตอร์ที่สั่งงานโดยตรงจากรีโมทคอนโทรและนำคำสั่งดังกล่าวมาใช้ ควบคุมการทำงานของระบบเครื่องปรับอากาศ ให้ทำงาน ปรับอุณหภูมิ ควบคุมความชื้น ควบคุมความเย็น ให้ทำงานได้โดยอัตโนมัติ โดยใช้คำสั่งจากไมโครคอมพิวเตอร์ 



ประหยัดไฟได้อย่างไร 
การทำงานของระบบอินเวอร์เตอร์ มีผลต่อการควบคุมอุณหภูมิโดยตรงภายในห้องต่อมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ มีผลทำให้ความเร็วรอบของมอเตอร์ลดลง ส่งผลให้ปริมาตรการดูดน้ำยาลดลง การกินไฟของมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ก็จะลดลงตามไปด้วย ทำให้เราสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ แม้ว่ามอเตอร์จะทำงานอยู่ก็ตามแต่ก็เป็นการทำงานตามคำสั่งของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมความถี่ของไฟฟ้าเท่านั้น

ต่างกับระบบเดิมตรงไหน 
อินเวอร์เตอร์ที่มีการกินของกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตาม ความถี่ของไฟฟ้า โดยการควบคุมการทำงานของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการควบคุมความถี่ไฟฟ้า และสามารถทำให้เราประหยัดไฟฟ้าได้ ด้วยหลักการทำงานดังกล่าว

คุณสมบัติเด่นของระบบอินเวอร์เตอร์
1.        ประหยัดไฟฟ้า กว่า 20-30%
2.        เร็วทันใจ รักษาอุณหภูมิได้คงที่
3.        เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4.        สามารถผลิตน้ำแข็งได้มากกว่า และเร็วกว่า
จากข้อมูลเบื้องต้นทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จึงคิดค้นนำระบบอินเวอร์เตอร์มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตน้ำแข็ง  เพื่อให้ได้ผลผลิตและปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น และยังช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิต



จากการทดสอบกับเครื่องผลิตน้ำแข็งหลอดใน 1 รอบ จะใช้เวลาในการทำน้ำแข็ง ประมาณ 52 นาที แต่เมื่อนำระบบ อินเวอร์เตอร์ เข้ามาติดตั้ง ทำให้ลดระยะเวลาในการผลิตน้ำแข็งลง ประมาณ 20% เหลือแค่ประมาณ 42 นาที / 1 รอบ ทำให้สามารถผลิตนำแข็งได้มากขึ้น โดยที่ใช้ต้นทุนต่ำลง และ ถ้าเป็นเครื่องผลิตน้ำแข็งแบบเกล็ด ระบบอินเวอร์เตอร์นี้ จะช่วยในการควบคุมอุณหภูมิ ให้เหมาะสมกับการผลิตน้ำแข็งอยู่ตลอดเวลา





แหล่งที่มา
http://www.mutlive.com/
ดร.พุทธพร เศวตสกุลานนท์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น